Smart Farming and Agricultural Innovation Engineering

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร

ข้อมูลหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง)

ภาษาอังกฤษ:Bachelor of Engineering Program in Smart Farming and Agricultural Innovation Engineering (Continuing Program)

วิชาเอก

  • 1) วิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะ
  • 2) วิศวกรรมนวัตกรรมเกษตร

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Engineering (Smart Farming and Agricultural  Innovation Engineering)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Eng. (Smart Farming and Agricultural Innovation Engineering)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  • นักธุรกิจหรือเจ้าของธุรกิจฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  • เกษตรกรที่ใช้หลักการของการทำฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  • ผู้จัดการฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  • ช่างฝีมือด้านการเกษตรอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  • ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  • นักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
  • นักวิชาการในหน่วยราชการ
  • นักวิเคราะห์และวางแผนการจัดการการทำเกษตรอย่างอัจฉริยะ
  • ผู้ประกอบการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับธุรกิจฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
 
การยกระดับการเกษตรของประเทศให้เป็นการเกษตรอัจฉริยะและเกิดหรือมีการพัฒนา นวัตกรรมเกษตรที่เหมาะสมต่อไป
  •     เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลกระทรวงศึกษาธิการด้านการผลิตกำลังคนเพื่อรองรับ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ในการรองรับเศรษฐกิจประชาคมอาเชียน (AEC) ในอนาคต
  •     เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลกระทรวงศึกษาธิการให้มีการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแบบต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองเปิดโอกาสให้นักศึกษาสายอาชีวศึกษาและช่างเทคนิคในโรงงานอุตสาหกรรมได้รับองค์ความรู้และทักษะขั้นสูงในระดับปริญญาตรี ซึ่งจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เยาวชนสนใจเลือกเรียนรู้สู่สายอาชีพให้เพิ่มมากขึ้น
  •     เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลไทยแลนด์ 0 ในการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะอาชีพขั้นสูง อันก่อให้เกิดการพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศในอนาคต ให้มีความทันสมัย มีรายได้เพิ่มขึ้นและก้าวพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สร้างวัฒนธรรมไทยใหม่ โดยเปลี่ยนจากวัฒนธรรมข้าราชการ ลูกจ้าง เป็นอาชีพอิสระและความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) อัตลักษณ์บัณฑิตแม่โจ้ ทักษะเทคโนโลยีทันสมัย จิตวิญญาณผู้ประกอบการอิสระ

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

          การพัฒนาของหลักสูตรจะเน้นการพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะการปฏิบัติงานแบบสหวิชาการทางฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร มีทักษะ (Skill) ด้านการประกอบกิจการธุรกิจ (Entrepreneur) ด้านจิตวิทยาสังคม (Social Psychology) และด้านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ต่างๆ  สร้างคนให้มีศักยภาพเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ การประกอบธุรกิจเป็นอาชีพอิสระ และจัดการหลักสูตรแบบมีส่วนร่วม เพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนในการพัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพให้มีทักษะความรู้ขั้นสูงในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการรองรับเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน โดยเน้นการฝึกปฏิบัติด้านทักษะการทำงาน การส่งเสริม การถ่ายทอดและการปลูกจิตสำนึกในการบริการจัดการการเกษตรอย่างอัจฉริยะและสามารถออกแบบพัฒนานวัตกรรมทางด้านเกษตรเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศ อีกทั้งสามารถประกอบการอิสระได้อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ

ปรัชญา ความสำคัญ

บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ด้านทฤษฎีและมีทักษะด้านการปฏิบัติการ สามารถประกอบการอิสระหรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจรุ่นใหม่ ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจด้านวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตรและมีทักษะการปฏิบัติด้านวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถนำความรู้และทักษะด้านวิศวกรรมไปใช้ในงานด้านฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถนำไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมสมัยใหม่ อย่างมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบและสามารถติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
  5. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอิสระและเป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการ

แผนพัฒนาปรับปรุง

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง) มีแผนพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรที่ประกอบด้วยแผนการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร กลยุทธ์ และตัวบ่งชี้การพัฒนาปรับปรุง โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในรอบการศึกษา (5 ปี)

การดำเนินการหลักสูตร

  • ภาคการศึกษาที่ 1
        มิถุนายน – ตุลาคม
  • ภาคการศึกษาที่ 2
        พฤศจิกายน – มีนาคม
  • ภาคการศึกษาที่ 3 (ภาคฤดูร้อน)
        เมษายน – พฤษภาคม

หรือเป็นไปตามปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ประกาศใช้ในขณะนั้น

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ตอบสนองการพัฒนางานวิจัย ยุทธศาสตร์และนโยบายด้านการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

รองศาสตราจารย์

นายเสมอขวัญ ตันติกุล

samerkhwan@mju.ac.th

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

นายธงชัย มณีชูเกตุ

thongchai_m@mju.ac.th

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

นายฤทธิชัย อัศวราชันย์

rittichai@mju.ac.th

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

นายชวโรจน์ ใจสิน

chawaroj@mju.ac.th

อาจารย์

นายสุระพล ริยะนา

surapon_r@mju.ac.th

อาจารย์

นางสาวทัศนีย์ ชัยยา

-@mju.ac.th

Contact

มหาวิทยาลัยแม่โจ้มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ

Location:

เลขที่ 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์ : 053 873000

Call:

โทรศัพท์ : 053 873000 โทรสาร : 053 873015

Loading
Your message has been sent. Thank you!